
|
บริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด ทำพิธีลงนาม MOU ระหว่าง มข.กับมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป
บริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด จัดการลงนาม MOU ระหว่าง มข.กับมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป ว่าด้วยการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีความมั่นคงปลอดภัย ทางไซเบอร์ อีกทั้งเป็นการประหยัดทั้งด้านทรัพยากรบุคคล กระดาษ เวลา
|
|
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00 น. ได้มีการจัดทำพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ระหว่าง มูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าพิธีลงนาม พร้อมด้วย ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณทิพา ว่องไว ผู้อำนวยการศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำเสนอความเป็นมาในการจัดการลงนาม MOU ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงจันทรา เหล่าถาวร ประธานมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป กล่าวนำเสนอ นางสุทธิ์สมร แสงสุรศักดิ์ชัย ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด กล่าวนำเสนอ ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม 5102 ชั้น 1 อาคารเวชวิชาคาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
|
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าพิธีลงนาม มีใจความว่า การดำเนินการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์นั้น เกี่ยวข้องกับการรับส่งเอกสารโครงการวิจัย รวมทั้งเป็นการติดต่อประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งหากมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยบริหารจัดการ ก็จะเป็นการประหยัดทั้งด้านทรัพยากรบุคคล กระดาษและเวลาได้ |
|
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ซึ่งจัดเป็นโปรแกรมต้นแบบ สามารถนำไปปรับเปลี่ยนเป็นโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำหรับสถาบันภาคีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิฯ และสามารถเชื่อมต่อกับระบบโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันภาคีต่างๆได้ในอนาคตและมีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และขอขอบคุณผู้อำนวยการศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด ประธานมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป ที่ได้ดำเนินการให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ |
|
ทางด้านนางสุทธิ์สมร แสงสุรศักดิ์ชัย ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด ได้กล่าวนำเสนอในพิธีการลงนามว่า ดิฉันในนามของบริษัทไอดีไดรฟ์ จำกัดรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาส มีความร่วมมือกับ มูลนิธิ ซิดเคอร์-เฟอร์แคป(ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น(ซึ่งเป็นมหาวิยาลัยชั้นนำระดับประเทศและระดับชาติโดยเฉพาะมีชื่อเสียงในด้านการแพทย์เป็นอย่างมาก)ในความร่วมมือนี้ บริษัทไอดีไดรฟ์ จำกัด ได้รับเกียรติให้เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นโปรแกรมต้นแบบ (Proto Type) ให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ สามารถนำไปปรับเป็นโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับสถาบันภาคีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป และสามารถเชื่อมต่อกับระบบโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันภาคีต่างๆได้ และมีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ |
|
ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในลักษณะโปรแกรมสารสนเทศดิจิตอล ทำให้สามารถบริหารจัดการงานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทไอดีไดรฟ์ จำกัดมีความประสงค์จะเป็นส่วนหนึ่งจากภาคเอกชนในการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ รวมทั้งการผลิตนวัตกรรมทางด้านสุขภาพและการแพทย์อันจะนำมาสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอลสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0
|
|
สุดท้ายนี้ ใคร่ ขอขอบคุณท่านประธานมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป (ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงจันทราเหล่าถาวร) เป็นอย่างมาก ที่เป็นผู้เสนอแนวคิดให้กับบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัดในการพัฒนาระบบปฏิบัติการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในลักษณะโปรแกรมสารสนเทศดิจิตอล
ขอขอบคุณท่านรักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น (รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล)เป็นอย่างมาก รวมทั้งท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ (ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา)ผู้อำนวยการศูนย์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณทิพา ว่องไว) คณะผู้บริหาร และทีมงานทุกท่านมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ทำให้ บริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด ได้มีโอกาสและบรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นโปรแกรมต้นแบบที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ |
|
จากนั้นได้มีการทำพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ระหว่าง มูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด โดยมีข้อบันทึกตกลงความร่วมมือดังนี้
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ว่าด้วยการพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ระหว่าง มูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ทำขึ้น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ระหว่าง 1. มูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคป สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 74/2 หมู่ 7 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงจันทรา เหล่าถาวร ตำแหน่งประธานมูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคปซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจะเรียกว่า “มูลนิธิฯ” ฝ่ายที่หนึ่ง กับ
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่เลขที่ 123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002 โดยรองศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ตำแหน่ง รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ 9457/2562เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน2562 แนบท้ายบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจะเรียกว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ฝ่ายที่สอง และ
3. บริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 200/222 หมู่ 2 ถนนชัยพฤกษ์ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โดยนางสุทธิ์สมร แสงสุรศักดิ์ชัย ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด และ นางยุวดี แสงสุรศักดิ์ ตำแหน่ง กรรมการบริษัทฯ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดขอนแก่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2562 แนบท้ายบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจะเรียกว่า “บริษัทฯ” ฝ่ายที่สาม
การคิดค้นผลิตภัณฑ์ด้านการแพทย์และด้านสุขภาพจำเป็นต้องนำไปทดสอบกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องอย่างมีจริยธรรม และต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อเป็นหลักประกันในความปลอดภัยต่อผู้เข้ารับการวิจัยก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ มูลนิธิซิดเคอร์-เฟอร์แคปเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีการดำเนินกิจการในลักษณะที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร และจากการที่ได้มีโอกาสตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมากกว่าสองร้อยสถาบัน พบว่าการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการทำงานเนื่องจากขาดการสนับสนุนในเชิงระบบ ประกอบกับมูลนิธิฯ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีความร่วมมือในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันหลักในการบริหารจัดการการฝึกอบรมกรรมการและเจ้าหน้าที่ให้ตอบสนองต่อการพัฒนากำลังคนด้านการวิจัย และจากการที่ประธานมูลนิธิฯได้มีโอกาสเสนอแนวคิดให้กับกรรมการผู้จัดการบริษัท ไอดี ไดรฟ์ จำกัด ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ในลักษณะโปรแกรมสารสนเทศดิจิตอล ที่สามารถบริหารจัดการงานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทฯมีความประสงค์จะเป็นส่วนหนึ่งจากภาคเอกชนในการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ รวมทั้งการผลิตนวัตกรรมทางด้านสุขภาพและการแพทย์อันจะนำมาสู่การสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนชาวไทย ทั้งสามฝ่ายจึงได้ตกลงร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ โดยมีวัตถุประสงค์และขอบเขตความร่วมมือ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ
ทั้งสามฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นโปรแกรมต้นแบบ (Proto Type) ให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ สามารถนำไปปรับเปลี่ยนเป็นโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับสถาบันภาคีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิฯ และสามารถเชื่อมต่อกับระบบโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันภาคีต่างๆ ได้ในอนาคต และมีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
ข้อ 2 ขอบเขตความร่วมมือ
2.1 มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมูลนิธิฯตกลงให้ความร่วมมือทางวิชาการในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือนี้
2.2 บริษัทฯ จะเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำเร็จรูปภายใต้แนวคิดตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือนี้และรับผิดชอบในการดูแลฐานข้อมูลสำหรับการใช้งานและจัดเก็บข้อมูล
2.3มูลนิธิฯ จะเป็นผู้พิจารณาการอนุญาตใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แก่สถาบันภาคีที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิฯ |
|
|
|
|
|
|
|